วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ทำความรู้จัก “วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์” โรงเรียนแพทย์แห่งใหม่ กันค่ะ


            ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พ.ศ. ๒๕๕๙  เป็นสถาบันการวิจัยและวิชาการชั้นสูง จัดการศึกษาทางวิชาการและวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การแพทย์ และการสาธารณสุข ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์มีฐานะเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกํากับของรัฐ
            ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประกอบด้วยส่วนงานในสังกัด ดังนี้
            สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ มีหน้าที่ดําเนินการวิจัย ส่งเสริม สนับสนุน และนําผลวิจัยไปใช้ประโยชน์ และพัฒนากําลังคนระดับสูงทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การแพทย์และการสาธารณสุข
            สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ มีหน้าที่จัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ทําการวิจัย นําผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ และให้บริการทางวิชาการ
            วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์  มีหน้าที่จัดการศึกษาทางด้านแพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ ทําการวิจัย และสนับสนุนให้ทําการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ในเรื่องดังกล่าว และให้บริการในการบําบัดรักษาผู้ป่วย

ใน ปีการศึกษา 2560 วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จะดำเนินการรับนักศึกษารุ่นแรก ใน 4 หลักสูตร คือ 

1.หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
            คณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ โดยนักศึกษาแพทย์ของ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ จะเรียนร่วมกับ นักศึกษาแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอนแหล่งฝึกปฏิบัติงานหลัก คือ โรงพยาบาลรามาธิบดี ใน 5 รุ่นแรก เมื่อสำเร็จการศึกษาจะรับพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยมหิดล
            การศึกษา ตลอดหลักสูตรใช้เวลาเรียน 6 ปี  โดยมีการแบ่งการเรียนออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้
            ปีที่ 1 เรียนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป เรียนที่ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม
            ปีที่ และปีที่ 3  เรียนชั้นปรีคลินิก ศึกษาการทํางานของร่างกาย มนุษย์ในภาวะปกติ โดยบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ พื้นฐาน เช่น กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา จุลชีววิทยา เภสัชวิทยา พยาธิวิทยา เรียนที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขต พญาไท และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
            ปีที่ ถึงปีที่ 6 เรียนชั้นคลินิก เรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง ร่วมเป็นหนึ่งในทีมดูแลผู้ป่วย ศึกษาอาการและการรักษาโรคผ่านการฝึกทักษะกับอาจารย์แพทย์สาขาต่างๆ เรียนและฝึกปฏิบัติงานในคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และชั้นปีที่ 6 นักศึกษาแพทย์จะได้ เพิ่มพูนประสบการณ์ทางคลินิก ณ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โรงพยาบาลจังหวัดบุรีรัมย์, โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา, โรงพยาบาล เจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี และโรงพยาบาล ในความร่วมมือของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์
            การรับนักศึกษา ในปีการศึกษา 2560 รับนักศึกษา ดังนี้
            ระบบรับตรง กสพท (คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี – วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์)
            รับตรง วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ แบ่งเป็น
            กลุ่มที่ 1 : โควตาพิเศษ นักเรียนในกลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย จำนวน 12 แห่ง (นครศรีธรรมราช, เชียงราย, ตรัง, บุรีรัมย์, มุกดาหาร, สตูล, เพชรบุรี, เลย, พิษณุโลก, ลพบุรี, ปทุมธานี, ชลบุรี)
            กลุ่มที่ 2 : นักเรียนที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในปีการศึกษา 2559 จากโรงเรียนทั่วประเทศ

           2.หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
            คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งโดยสภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 เพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช 90 พรรษา วันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2560 โดยจะรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2560 จำนวน 50 คน
            การศึกษา ใช้ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร 4 ปี
            ปีที่ เรียนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป โดยเรียนที่ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม
            ปีที่ เรียนบางวิชาในหมวดการศึกษาทั่วไปที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม  และเรียนวิชากลุ่มพื้นฐานวิชาชีพที่ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ และในชั้นปีนี้  นักศึกษาจะได้เรียนรู้ทักษะทางการพยาบาลในศูนย์ปฏิบัติการเรียนรู้ทางการพยาบาลที่มีอุปกรณ์ทันสมัย  ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
            ปีที่ 3 และปีที่ 4 เรียนวิชาในกลุ่มวิชาชีพภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติให้ห้องฝึกทักษะการพยาบาลในศูนย์สาธิตทางการพยาบาล ณ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ สำหรับการศึกษาภาคปฏิบัติ  ฝึกในแหล่งฝึกปฏิบัติจริง ในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และโรงพยาบาลอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
           ค่าใช้จ่ายในการเรียน ค่าธรรมเนียมแรกเข้า(จ่ายครั้งเดียว) 2,500 บาท ค่าธรรมเนียมการศึกษา(รวมค่าบำรุง) 33,125 บาทต่อภาคการศึกษา
            การรับนักศึกษา จำนวน 50 คน ในปีการศึกษา 2560 จาก 2 ระบบ คือ
            ระบบโควตา จากนักเรียนโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย 12 แห่ง (นครศรีธรรมราช เชียงราย ตรัง บุรีรัมย์ มุกดาหาร สตูล เพชรบุรี เลย พิษณุโลก ลพบุรี ปทุมธานี ชลบุรี) จำนวน 15 คน
            ระบบรับตรงทั่วประเทศ จำนวน 35 คน

           3.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารังสีเทคนิค
            การศึกษา หลักสูตรมีระยะเวลาการศึกษา 4 ปี หลักสูตรประกอบด้วย
            วิชาพื้นฐาน เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
            วิชาพื้นฐานทางวิชาชีพ เช่น กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา พยาธิวิทยา อิเล็กทรอนิกส์ ฟิสิกส์รังสี รังสีคณิต การสร้างภาพดิจิทัลทางการแพทย์ การป้องกันอันตรายจากรังสี
            วิชาชีพเฉพาะทางรังสี ประกอบด้วย 3 สาขา ได้แก่ รังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เช่น การตรวจเอกซเรย์ทั่วไป การสร้างภาพด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) คลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) เครื่องสนามแม่เหล็กไฟฟ้าแรงสูง (MRI) เทคนิคการสร้างภาพทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (SPECT&PET) เทคนิคทางรังสีรักษาและการประยุกต์ใช้ทางคลินิก
            ค่าใช้จ่ายในการเรียน ค่าใช้จ่ายประมาณ 15,000 บาทต่อภาคการศึกษา
            การรับนักศึกษา รับนักศึกษาจำนวน 40 คน ดังนี้
            กลุ่มที่ 1 : โควตาพิเศษ นักเรียนในกลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย จำนวน 12 แห่ง(นครศรีธรรมราช, เชียงราย, ตรัง, บุรีรัมย์, มุกดาหาร, สตูล, เพชรบุรี, เลย, พิษณุโลก, ลพบุรี, ปทุมธานี, ชลบุรี) จำนวน 4 คน
            กลุ่มที่ 2 : นักเรียนที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในปีการศึกษา 2559 จากโรงเรียนทั่วประเทศ จำนวน 36 คน

            4.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีวสารสนเทศและชีววิทยาระบบ (หลักสูตรนานาชาติ) : Bachelor of Science Program in Bioinformatics and Systems Biology (International Program)
            การศึกษา  หลักสูตรมีระยะเวลาการศึกษา 4 ปี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีวสารสนเทศและชีววิทยาระบบ เป็นหลักสูตรพหุวิทยาการ (Multidiscipline) คือเป็นหลักสูตรที่นำเอาศาสตร์ความรู้ของหลากหลายแขนงมาผสมผสานเพื่อก่อเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ ได้แก่ แพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นต้น และหากแยกแยะเป็นสาขาวิชาย่อยจะประกอบด้วย กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา จุลชีววิทยา ชีววิทยา พยาธิชีววิทยา เทคโนโลยีชีวภาพ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวสารสนเทศและชีววิทยาระบบหรือศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ ควบคู่คุณธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ คณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โทรศัพท์ 0-2576-6000 และ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ อาคารโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ชั้น 7 โทรศัพท์  0-2576-6466

ข้อมูลสถานที่ตั้งของ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ คือ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เลขที่ 54 ถนนกำแพงเพชร 6 แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210

ข้อมูลอ้างอิง วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ และ P'Dome

ภาพประกอบจาก https://www.facebook.com/BioinfoPCCMS/ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น