วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

กสพท 60 : ทันตแพทย์ มศว รับเพิ่มเป็น 50 คน !!



ประกาศกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ฉบับที่ 2 
เรื่อง เพิ่มจำนวนรับบุคคลเข้าศึกษา ในหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 25560 ของ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโวฒ  
จำนวนรับ 25 คน เพิ่มเป็น 50 คน 



วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

สามทริคพิชิต “ท้อ” รับมือสอบหมอในอีกไม่กี่เดือน


          เชื่อว่าหลายๆคนก็เริ่มกังวลกับการสอบ กสพท. ในไม่กี่เดือนข้างหน้านี้แล้ว ซึ่งเอาจริงๆมันก็น่ากังวลนั่นแหละ ไม่ว่าจะเป็นระเบียบการรับสมัครที่ปีนี้เปลี่ยนแปลงไปเยอะเลย มีสถาบันใหม่ๆเพิ่มเข้ามาเยอะ จนจัดอันดับไม่ถูกเลย แต่เมื่อกลับมาดูเนื้อหาและแนวข้อสอบแล้วก็เยอะจนหาเวลาอ่านกันไม่ได้เลยทีเดียว
          แน่นอนพอมีอะไรเยอะๆเข้าเราก็จะเริ่มท้อ สิ่งที่ตามมาที่น่ากลัวที่สุดก็คือเราจะท้อจนไม่อยากทำเชี่ยอะไรแล้ว และหยุดทุกอย่างไปดื้อๆเลย ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเสียดายที่สุดเลยที่ใครซักคนต้องล้มเลิกความตั้งใจลงไปเพราะท้อแบบนี้
          วันนี้พี่ๆ ก็เลยเอาเทคนิคที่คนขี้เกียจแบบพี่ใช้ปลุกตัวเองให้ลุกขึ้นมาทำงานอ่านหนังสือเวลาท้อๆมาเล่าให้ฟังค่ะ
1. ช่างแม่ง (ปล่อยวาง)
          สาเหตุนึงของความท้อก็คือ เรารู้สึกแย่กับเวลาที่ผ่านมาที่เรามีสิ่งที่ควรทำแล้วไม่ได้ทำ หรืออาจจะรู้สึกพลาดอะไรหลายๆอย่างไป อย่างนึงที่น้องต้องทำนั่นก็คือการปล่อยวางอดีตครับ เราไม่สามารถทำทุกอย่างให้เพอร์เฟ็กต์ได้ก็ปล่อยๆมันไปบ้าง
          อย่างที่สองที่เราต้องปล่อยวางคืออนาคตครับ หัดมีโมเมนต์ช่างแม่งบ้าง เราไม่สามารถทำทุกอย่างได้หมดในเวลาจำกัด เลือกในสิ่งที่จำเป็น เลือก”เท”ในสิ่งที่จำเป็นน้อยกว่า และช่างมันไป
2. ยัด (เรียนเพื่อสอบ)
          แน่นอนว่าหลายๆคนตอนเวลาเหลือเยอะๆก็จะจินตนาการเรียนแบบอุดมคติไว้สวยหรู เรียนช้าๆ สม่ำเสมอ มีวินัย ซึ่งปรากฎว่าน้องทำไม่ได้ไง
          ดังนั้นพอเวลามันกระชั้นชิดแล้ว ทำไงได้ล่ะ เราก็ต้องเรียนในแบบที่เราอาจจะหนักขึ้นแล้ว ไม่ว่าจะเรียนพิเศษ หรืออ่านเองก็ตาม อ่านเฉพาะส่วนที่สำคัญหรือออกสอบ
          อย่างฟิสิกส์ที่ดูเหมือนเป็นวิชาแห่งความเข้าใจ แต่พอจะสอบแล้วเห็นแนวข้อสอบออกซ้ำๆ ไม่เข้าใจก็ท่องวิธีทำไปทั้งเซ็ตแล้วไปปรับเอาก็มี อย่างข้อสอบฟิสิกส์วิชาสามัญที่พี่ได้ร้อยเต็มก็ยอมรับนะคะว่ามีบางส่วนที่พี่ท่องวิธีทำแนวโจทย์ไปทั้งข้อเหมือนกัน
3. คิดถึงเป้าหมาย และสิ่งที่เราได้พยายามทำมาแล้ว
          การตั้งใจทำอะไรใหญ่ๆอย่างการสอบหมอแน่นอนว่ากว่าจะสำเร็จออกดอกออกผลก็ย่อมใช้เวลานาน การที่เราคอยบอกตัวเองอยู่เสมอว่าเราเหนื่อยไปเพื่ออะไร เราเดินมาไกลแค่ไหนแล้ว ก็ช่วยทำให้เรามีกำลังใจเพิ่มขึ้นได้คค่ะ
          อีกนิดนะคะสำหรับใครที่รู้สึกท้อ น้องเป็นคนพิเศษตั้งแต่น้องตั้งใจอยากเป็นหมอแล้วค่ะ ลองนึกถึงช่วงที่เตรียมสอบแล้วคุณพ่อคุณแม่ภาคภูมิใจ เข้ามาให้กำลังใจ เข้ามาสนับสนุนการเรียนพิเศษ ทุกความพยายามและตั้งใจของน้องมีคุณค่าและสวยงามอยู่แล้วค่ะ น้องแค่ต้องพยายามต่อไปเท่านั้นเองค่ะ
อ้างอิง พี่แม็ทธิว

รับตรง 60 หลักสูตรวิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปีการศึกษา 2560

การรับสมัครคัดบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับปริญาตรี (แบบโควตา) 
วิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ
หลักสูตรวิศวะกรรมการบินและนักบินพาณิชย์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) 
ประจำปีการศึกษา 2560

กำหนดการ

เปิดรับสมัคร    4 - 29 ก.ค. 59
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์    8   ส.ค. 59
สอบสัมภาษณ์    20 ส.ค. 59
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา    16 ก.ย. 59

คณะ /สาขาวิชาและจำนวนที่รับสมัคร

วิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ  (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)      100   ที่นั่ง
- สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์     

คุณสมบัติของผู้สมัคร

1.กำลังศึกษาอยู่ชั้น ม. 6 หรือเทียบเท่า
2.GPAX ไม่ต่ำกว่า 3.50

การสอบและเกณฑ์การพิจารณา


- สอบสัมภาษณ์

ขั้นตอนการสมัคร 


ดาวน์โหลดใบสมัคร  คลิกที่นี่

การจัดส่งเอกสารหลักฐาน

ให้โรงเรียนรวบรวมเอกสารทั้งหมด ตรวจสอบรายการเอกสารส่งลงในฟอร์มที่แนบมาให้แล้ว ส่งผ่านช่องทางอีเมล์  aviation@staff.kmitl.ac.th  ภายในวันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม 2559 ในหัวข้อหลักสูตรวิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์ แบบโควตา

ขอบคุณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และadmissionpremium

รับตรง 60 โครงการโอลิมปิกวิชาการ หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล) มหาวิทยาลัยมหิดล


หลักเกณฑ์การรับบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต 
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
โดยวิธีรับตรงของคณะ โครงการโอลิมปิกวิชาการ ปีการศึกษา 2560 

เปิดรับ : 1 สาขา จำนวน : 21 ที่นั่ง

     -  หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล)

คุณสมบัติของผู้สมัคร

          กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีที่ 6  ของปีการศึกษา 2559 หรือเทียบเท่า

คุณสมบัติเฉพาะ

          ผู้สมัครต้องเป็นผู้สอบผ่านการคัดเลือกใสลำดับที่ 1-50 ในรอบสุดท้ายของการแข่งขันระดับประเทศของมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการ และมาตรฐานวิทยาศาตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระพี่นางเจ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนาราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สาขาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ หรือคณิตศาสตร์ โดยผู้สมัครต้องผ่านการแข่งขันระดับประเทศ ระหว่างปี พ.ศ.2557-2559 (กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ม.ปลาย ณ ปีที่แข่งขัน) และต้องขอหนังสือรับรองจากมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตราฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) โดยระบุสาขาและลำดับที่ได้รับรางวัล หรือผู้ที่ผ่านการอบรมเข้าค่ายโอลิมปิกวิชการ รอบที่ 1 ที่จัดขึ้นโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (โครงการโอลิมปิก สสวท.) สาขาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ หรือคณิตศาสตร์ 
           สำหรับผู้สมัครที่เป็นผู้ได้รับเหรียญทองในการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ (ระดับนานาชาติ) สาขาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ หรือคณิตศาสตร์ ซึ่งผ่านการคัเลือกในห้ไปร่วมการแข่งขันโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สสวท.) จะได้รับคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นกรณีพิเศษ โดยไม่ต้องสอบข้อเขียน หากผู้สมัครมีความประสงค์จะใช้สิทธิ์ฯ ดังกล่าว ติดต่อโดยตรง ที่งานบริการการศึกษา ฝ่ายการศึกษา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ตึกอดุลยเดชวิกรม ชั้น 6 โทรศัพท์/โทรสาร 02-411-4142 ภายในวันที่ 30 กันยายน 2559
          หากตรวจสอบในภายหลังพบว่า ผู้สมัครขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งพบว่าข้อความที่ได้แจ้งไว้ในใบสมัครเป็นเท็จ หรือหลักฐานการสมัครเป้นเอกสารเท็จหรือปลอม จะถูกตัดหรือเพิกถอนสิทธิ์ในการรับคัดเลือกครั้งนี้ แม้ว่าผู้สมัครจะได้สมัครหรือได้ผ่านการคัดเลือกแล้วก็ตาม และจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายด้วย


กำนดการและการสอบ


























สมัครผ่านเว็บไซต์โครงการ : http://www1.si.mahidol.ac.th/education/si/

รายวิชาและเงื่อนไขการสอบคัดเลือก


























ลิงค์ระเบียบการ          คลิกที่นี่
ลิงค์รับสมัคร              คลิกที่นี่
ลิงค์ประกาศผล          คลิกที่นี่

ขอบคุณข้อมูล มหาวิทยาลัยมหิดล และadmissionpremium

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

รับตรง 60 โครงการผลิตวิศวกรเพื่อชุมชน เกรด 2.75 สอบคณิตและความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



การรับสมัครนักเรียน ตามโครงการผลิตวิศวกรเพื่อชุมชนเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปีการศึกษา 2560

สาขาวิชาที่เปิดรับและจำนวนที่รับ

           เลือกสมัครได้เพียง 1 สาขาวิชาเท่านั้น
            - สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล จำนวน 20 คน
            - สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า จำนวน 30 คน
            - สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ จำนวน 30 คน
            - สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 10 คน
            - สาขาวิชาวิศวกรรมระบบสารสนเทศและเครือข่าย จำนวน 20 คน


กำหนดการคัดเลือก

           - กำหนดการรับสมัครผ่านสถานศึกษา : วันที่ 1-30 สิงหาคม 2559
           - ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบข้อเขียน : วันที่ 19 กันยายน 2559
           - สอบข้อเขียน : วันที่ 24 กันยายน 2559
           - ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ : วันที่ 30 กันยายน 2559
           - สอบสัมภาษณ์ : วันที่ 4 ตุลาคม 2559
           - ประกาศผลผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา : วันที่ 28 ตุลาคม 2559
           - การยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษา : วันที่ 1-11 พฤศจิกายน 2559
           - ยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาผ่านระบบเคลียริ่งเฮาส์ : ภายในวันที่ 25-28  เมษายน  2560

คุณสมบัติผู้สมัคร

           - กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม(GPAX) ไม่น้อยกว่า 2.75 และมีผลการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์(GPA) ไม่น้อยกว่า 2.75
           - ผู้ผ่านการคัดเลือกขั้นต้นของโครงการนี้ จะต้องมีผลการเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เฉลี่ย 2 ภาคการศึกษา ไม่น้อยกว่า 2.75 จึงจะถือว่าผ่านการคัดเลือกให้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้

วิธีการคัดเลือก

           - คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะเป็นผู้ออกข้อสอบและดำเนินการสอบคัดเลือกเองทั้งหมด โดยกำหนดวิชาที่สอบคือ วิชาคณิตศาสตร์ และความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์

การสมัคร 

             1.นักเรียนที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด ขอรับใบสมัครที่ฝ่ายแนะแนวของโรงเรียนหรือ download แบบฟอร์ม  คลิกที่นี่
             2.หลักฐานประกอบการสมัคร
               - สำเนาระเบียนผลการศึกษา (รบ.1) ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5 หรือหลักฐานอื่นที่ เทียบเท่ากัน 
               - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมรับรองส าเนาถูกต้อง จำนวน 1 ชุด 
               - สำเนาทะเบียนบ้านปัจจุบัน พร้อมรับรองส าเนาถูกต้อง จำนวน 1 ชุด 
               - รูปถ่ายหน้าตรงขนาด 3x4 ซม. ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป 
               - หนังสือรับรองความประพฤติจากโรงเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ จำนวน 1 ฉบับ


ลิงค์ระเบียบการ          คลิกที่นี่
ลิงค์รับสมัคร              คลิกที่นี่
ลิงค์ประกาศผล          คลิกที่นี่

ขอบคุณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และadmissionpremium

รับตรง 60 โควตาเรียนดี หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต และวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ


โครงการรับนักศึกษาเรียนดีและประพฤติดี (จัดการศึกษาที่ มจพ. กรุงเทพมหานคร)
หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต และ
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม 
ประจําปีการศึกษา 2560

เปิดรับสมัคร       26 กรกฎาคม 2559 ถึงวันที่ 14 ตุลาคม 2559
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์ สอบข้อเขียนและสถานที่สอบ วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม 2559 
สอบข้อเขียน วันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน 2559
ประกาศผลการสอบข้อเขียน วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน 2559 
สอบสัมภาษณ์ วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2559 
ประกาศผลการสอบคัดเลือก วันศุกรที่ 18 พฤศจิกายน 2559


คุณสมบัติของนักศึกษา 

1 เป็นนักศึกษาที่กำลังจะสําเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2559
2 มีค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) นับถึงภาคเรียนที่ 2/2558 ต้องไม่น้อยกว่า 2.75
3 คะแนนเฉลี่ยสะสมวิชาคณิตศาสตร์ที่ผ่านมานบถึงภาคเรยนที่ 2/2558 ไม่ต่ำกว่า 2.50
4 มีความประพฤติดี โดยให้ผู้อํานวยการโรงเรียน หรือวิทยาลัยเป็นผู้รับรอง
5 กรณีที่คะแนนเฉลี่ยสะสมต่ํากว่า 2.75 แต่ไม่น้อยกว่า 2.50 และได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันทักษะวิชาชีพ ไม่ต่ํากว่าในระดับภาค ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากําหนด ให้ยื่นใบสมัครด้วยตนเอง พร้อมหลักฐานที่งานบริการการศึกษา สํานกงานคณบดี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม โทรศัพท์ 0 2586 9016 

คณะ สาขาและจำนวนที่เปิดรับสมัคร




วิธีการสมัคร

1 สมัครผ่านทางเว็บไซต์ คลิกที่นี่  (ระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม 2559 ถึงวันที่ 14 ตุลาคม 2559)
2 ชําระเงินที่ธนาคารกรุงไทย หรือธนาคารไทยพาณิชย์ภายในวันที่กําหนดไว้ในใบแจ้งการชําระเงินค่าสมัคร
3 เลือกสมัครได้ 1 สาขาวิชา
4 อัตราค่าสมัครสอบ 400 บาท 

ลิงค์ระเบียบการ     คลิกที่นี่

ลิงค์รับสมัคร     คลิกที่นี่

ลิงค์ประกาศผล     คลิกที่นี่



  ขอบคุณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และ admissionpremium

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

6 ปีที่เรียนหมอ..เขาเรียนอะไร..ไปดูกันนะคะ


6 ปีที่เรียนหมอ..เขาเรียนอะไร..ไปดูกันนะคะ
  สวัสดีน้อง ๆ ทุกคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้กันนะ หลายคนที่เข้ามาอ่านคงอยากเป็นหมอกันใช่ไหมละ วันนี้พี่มีเรื่องมาเล่าให้น้อง ๆ ฟังว่าการเรียนหมอ 6 ปี เนี่ย เราเรียนอะไรกันบ้าง จะได้เอาไว้เป็นข้อมูลในการเลือกเรียนหมอกันนะคะ
ปีที่ 1 : เป็นเด็กน้อยที่ใช้ชีวิตห่างไกลจากคำว่าหมอเลยละ
     ปี 1 นี้เป็นปีเดียวที่น้องจะได้ใช้ชีวิตเหมือนเด็กมหาลัยคณะอื่น ๆ คือเรียนแบบตามตาราง 8.00-16.00 บางวันก็เรียนไม่เต็มวัน ทำให้น้องเอาเวลาว่างไปเที่ยว ไปปาร์ตี้ หรือทำกิจกรรมส่วนตัวที่ตัวเองชอบได้ วิชาที่เรียนกันในปี 1 นั้นจะไม่เกี่ยวข้องกับหมอเลย (ยกเว้นหมอบางสถาบันอาจจะมีบางวิชาที่เกี่ยวกับหมอบ้าง) เพราะจะเน้นไปที่วิชาพวก คณิต ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ เป็นหลัก คล้าย ๆ ของม.ปลายเลย แต่ว่าจะยากกว่าค่อนข้างเยอะ
     ชีวิตปี 1 จะได้ทำกิจกรรมเยอะมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมรับน้องปี 1 ขึ้นสแตนเชียร์ เล่นกีฬา ไปค่ายนู้นค่ายนี่ จัดกิจกรรมให้น้อง ม.6 มีพี่สายรหัสพาไปเลี้ยงบ่อย ๆ โดยรวมแล้วปีนี้เป็นปีที่สบาย และไม่ค่อยกดดันเรื่องเรียนมากเท่าไหร่เลยละ

ปีที่ 2 : ก้าวขึ้นมาเป็นน้องเล็กที่สุดในวงการแพทย์
     พี่ใช้คำว่าน้องเล็กที่สุดในวงการแพทย์เพราะว่าปีนี้เป็นปีแรกทีเราจะได้เรียนเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเป็นหมอ อย่างจริงจัง เพราะเราจะได้เรียนทั้ง Gross anatomy, Histology, Physiology, Biochemistry (ขอทับศัพท์ภาษาอังกฤษนะ แปลไทยละรู้สึกแปลก ๆ) ก็จะได้รู้เกี่ยวกับโครงสร้างร่างกายและการทำงานของระบบร่างกายของคนที่ปกติอย่างละเอียด ละเอียดชนิดที่เรียกว่าแม้แต่หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อในหูก็ต้องรู้จัก !!!
     เนื้อหาในปีนี้เยอะกว่าปีก่อนมากค่ะ ดังนั้นการปรับตัวจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อความอยู่รอด ต้องมีการปรับสมองให้สามารถรับความรู้ได้ทีละเยอะ ๆ และเร็ว ๆ อีกทั้งต้องไม่ลืม ไม่งั้นก็สอบตก แล้วชีวิตก็จะเริ่มวนเวียนอยู่กับหนังสือๆๆๆๆๆ ตั้งแต่ปีนี้นี่แหละครับ

ปีที่ 3 : เริ่มได้รู้จักโรคต่าง ๆ แล้วละ
 ในปีที่ 2 เราจะเน้นไปที่ร่างกายคนที่ปกติ คือไม่ป่วย แต่ในปีที่ 3 นี้จะได้เรียนเกี่ยวกับร่างกายของคนที่ป่วย ว่าถ้าเป็นโรคนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะอย่างไร ถ้าเป็นโรคนี้ระบบร่างกายตรงไหนที่เปลี่ยนไป ดังนั้นเราจะเริ่มรู้จักโรคต่าง ๆ และรู้จักเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุของโรคด้วย อีกทั้งยังจะได้เรียนเกี่ยวกับยาที่ใช้รักษาโรค แม้ว่าเราจะเรียนไม่ละเอียดเท่าเภสัช แต่เราก็จะได้เรียนลึกขนาดต้องรู้กลไกการออกฤทธิ์ โครงสร้างของยาบางตัวที่สำคัญ (ก็ลึกอยู่นะ)
     จุดพีคของการเรียนปีนี้ไม่ได้อยู่ที่เนื้อหาวิชา เพราะเนื้อหาก็เยอะอย่างนี้ตั้งแต่ปี 2 แล้ว ก็คงปรับตัวได้กันแล้ว แต่มันอยู่ที่ตอนปิดเทอม ปี 3 ก่อนขึ้น ปี 4 ต้องสอบใบประกอบโรคของแพทย์ขั้นที่ 1 (เรียกสั้น ๆ ว่า NL 1 ซึ่งจะมีสอบทั้งหมด 3 ขั้น) และเนื้อหาที่ออกสอบคือเนื้อหาที่เรียนทั้งหมดในปี 2 และปี 3 ซึ่งเยอะมากกกกก แต่ก็ต้องพยายามจำให้ได้หมด เพื่อจะได้สอบให้ผ่าน

ปีที่ 4 : ใกล้คำว่าหมอขึ้นมาอีกขั้น เพราะได้รับคนไข้แล้ว
     ปีนี้เป็นอีกปีที่จะต้องปรับตัวอย่างมาก เพราะการเรียนจะไม่ได้เป็นเลกเชอร์ในห้องรวมแล้ว แต่จะเป็นการเรียนรู้บนหอผู้ป่วย (วอร์ด) โดยเรียนรู้จักผู้ป่วยโดยตรงเลย เราจะถูกแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ เพื่อไปวนวอร์ดผู้ป่วยต่าง ๆ ตลอดปี แต่ละวอร์ดก็จะมีเนื้อความรู้ที่ต่างกัน เช่น วอร์ดสูติ-นรีเวช ก็จะเน้นไปที่โรคของผู้หญิง เช่น ประจำเดือนไม่มา ประจำเดือนมามาก ประจำเดือนมาบ้างไม่มาบ้าง หรือจะเป็นวอร์ดเด็กที่จะเน้นโรคของเด็ก ทั้งเด็กอ้วนไป เด็กผอมไป เด็กไม่พูด เด็กซนเกินไป เป็นต้น  ในตอนที่วนไปแต่ละวอร์ดก็จะได้รับคนไข้ คือต้องซักประวัติ ตรวจร่างกาย วินิจฉัยโรค และให้แนวทางการรักษาเบื้องต้นได้ โดยอาจารย์บนวอร์ดจะเป็นคนคอยควบคุมดูแล ให้ความรู้ ชี้จุดบกพร่อง กับเราอีกทีนึง
       อีกทั้งปีนี้ชีวิตเราจะเปลี่ยนไปจากเดิมเพราะคำว่า “เวร” อีกด้วย เราจะได้รับมอบหมายให้มีการอยู่เวรนอกเวลาราชการ มีหมดเลยตั้งแต่ 16.00-6.00 (ของอีกวัน) หรือจะเป็นวันเสาร์ อาทิตย์ หรือจะวันหยุดยาวเช่น สงกรานต์ ปีใหม่ ก็อาจจะมีเวรได้ถ้าตารางเวรลงตัวตรงนั้น ดังนั้นเวลาว่าง เวลาส่วนตัวของเราก็จะลดลงกว่าเดิม (และมันจะมีอย่างนี้ไปตลอดชีวิตของหมอแหละนะ บอกไว้ก่อน)

ปีที่ 5 : เรียนเหมือนปี 4 แต่ต้องเก่งขึ้น
     รูปแบบการเรียนของปี 5 จะเหมือนของปี 4 คือต้องแบ่งกลุ่มย่อย ๆ และวนไปตามวอร์ดต่าง ๆ ตลอดทั้งปี อาจจะแตกต่างกันเล็กน้อยที่วอร์ดที่ไปวนนั้นอาจจะมีวอร์ดเล็ก ๆ ที่ไม่เคยได้ไปวนมาก่อนตอนปี 4 เช่น จิตเวช นิตเวช เป็นต้น (การวนวอร์ดนี่แล้วแต่สถาบันจะจัดนะ แต่ละสถาบันอาจจะวนไม่เหมือนกัน) สิ่งที่ต้องทำบบนวอร์ดก็จะคล้ายปี 4 คือต้องซักประวัติ ตรวจร่างกาย วินิจฉัยโรค ให้การรักษาได้ เพียงแต่จะต้องทำได้ดีกว่าปี 4 ต้องมีความรู้มากกว่าปี 4 เพราะอาจารย์จะคาดหวังมากกว่าปี 4 นั่นเอง
     จุดพีคของปี 5 อีกอย่างนึงคือ ในช่วงปิดเทอมปี 5 ก่อนขึ้นปี 6 นั้นจะต้องสอบใบประกอบโรคของแพทย์ขั้นที่ 2 ซึ่งเนื้อหานั้นคือเนื้อหาของปี 4 และ ปี 5 ทั้งหมด (มหาศาลยิ่งกว่าขั้นที่ 1 อีกนะ) แต่ก็เช่นเคยต้องทำให้ได้ !

ปีที่ 6 : ทำงานเป็นหมอเต็มตัว แค่ไม่มีเงินเดือนให้
     ปีนี้เป็นปีสุดท้ายในการเรียนหมอแล้ว เราจะได้ “ทำงาน” เหมือนหมอตามรพ.แทบจะทุกอย่างเลย ทั้งทำคลอดเอง เย็บแผลเอง ผ่าตัดเล็กเอง ให้การรักษาคนไข้ได้ โดยจะมีอาจารย์คอยดูแล อย่างห่าง ๆ กว่าปีก่อนมากขึ้น ปีนี้ถือว่าหนักที่สุดในการเรียนหมอ 6 ปีเลยละ หนักขนาดที่ว่า บางคนถือว่าปี 1-5 เป็นครึ่งทางแรกของการเรียนหมอ และปี 6 นี่เป็นครึ่งทางหลังของการเรียนหมอเลยทีเดียว เพราะทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับคนไข้บนวอร์ด ปี 6 ต้องรู้ ต้องทำได้ ต้องมาจัดการ ไม่ว่าจะเป็นคนไข้ชัก คนไข้หัวใจหยุดเต้น คนไข้หอบเหนื่อยมาก คนไข้หายใจเองไม่ไหว มีอะไรก็ตามเกิดขึ้นกับคนไข้ ปี 6 จะถูกตามมาดูคนไข้ก่อนเสมอค่ะ
     ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่น้องที่เข้ามาเรียนหมอ จะต้องเจอตลอด 6 ปีไม่ว่าจะเรียนสถาบันไหนก็จะมีรูปแบบประมาณที่พี่เล่ามา อาจจะแตกต่างกันในรายละเอียดนิดหน่อย ลองเอาไปเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกเรียนละกันนะ 
     ส่วนใครยังไม่แน่ใจยังไงอยากปรึกษาพี่ ๆ ที่เรียนหมอก็ inbox มาที่แฟนเพจ U-BRAIN TUTOR  ได้ตลอดเลย เพราะตอนนี้พี่ๆ มีคอร์ส DOCTOR HOUSE การันตี แพทย์ เภสัช ทันตะ สัตวแพทย์ สัตวแพทย์ ไว้เพื่อว่าที่คุณหมอทุกๆ คนค่ะ

ขอบคุณบทความ:Tiwtactic
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 043-222777,062-4796697 Fanpage:U-BRAIN TUTOR

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

รับตรง 60 GPA 2.75 ก็มีสิทธิ์ กับโครงการส่งเสริมโอลิกปิกวิชาการ และพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา (สอวน.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์



โครงการส่งเสริมโอลิกปิกวิชาการ และพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.)

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีการศึกษา 2560


ปฏิทินการสมัครคัดเลือก



คุณสมบัติของผู้สมัคร

- กําลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
- แผนการเรียนวิทย์ - คณิต เฉพาะคณะวิทยาศาสตร์
- รับนักเรียน สอวน. ที่ผ่านการอบรมค่าย 2 หรือ 3 ตามแต่ละคณะ / สาขาวิชากำหนด
- มีผลคะแนนทดสอบ GAT, PAT1 / PAT2 / PAT3 ตามแต่ละคณะ / สาขาวิชากำหนด
***ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในระเบียบการ คลิกที่นี่

การสอบและเกณฑ์การพิจารณา

- สอบสัมภาษณ์

การสมัคร

- ดูรายละเอียดการอัพเดตข้อมูลได้ผ่านหน้าเว็บไซต์คณะ คลิกที่นี่
- ลิงค์รับสมัคร คลิกที่นี่

คณะ /สาขาวิชา

    เปิดรับ : 38 สาขา จำนวน : 191 ที่นั่ง


วิทยาเขตบางเขน

      
คณะเกษตร
      
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เกษตร
- สาขาวิชาการจัดการศัตรูพืชและสัตว์
- สาขาวิชาเคมีการเกษตร
- สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์
- สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
- สาขาวิชาเกษตรเขตร้อน
- สาขาวิชาสัตวศาสตร์อุตสาหกรรม
           
คณะอุตสาหกรรมเกษตร
      
- สาขาวิชาเทคโนโลยีการบรรจุ 
- สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
- สาขาวิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร               
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งทอ

คุณสมบัติของผู้สมัคร
1. รับนักเรียน สอวน. ที่ผ่านการอบรมค่าย 2
2. มีคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) 5 ภาคการศึกษา ไม่ต่ํากว่า 2.75
3. มีผลคะแนนทดสอบ GAT, PAT1 และ PAT2 เฉลี่ยรวมทั้ง 3 วิชา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
           
คณะวิทยาศาสตร์
      
- สาขาวิชาคณิตศาสตร์
- สาขาวิชาเคมี
- สาขาวิชาจุลชีววิทยา
- สาขาวิชาชีวเคมี
- สาขาวิชาพฤกษศาสตร์
- สาขาวิชาพันธุศาสตร์ 
- สาขาวิชาฟิสิกส์
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพรังสี 
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ 
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ 
- สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ
- สาขาวิชาสถิติ 
- สาขาวิชาสัตววิทยา
- สาขาวิชาชีววิทยา

คุณสมบัติของผู้สมัคร

1. รับนักเรียน สอวน. ที่ผ่านการอบรมค่าย 2
2. กําลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2559 (แผนการเรียนวิทย์-คณิต)
3. มีคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) 5 ภาคการศึกษา ไม่ต่ํากว่า 3.00
           

คณะวิศวกรรมศาสตร์     

คุณสมบัติผู้สมัคร 

1. รับนักเรียน สอวน. ที่ผ่านการอบรมไม่ต่ํากว่าค่าย 2
2. รับนักเรียน สสวท. ที่ผ่านการอบรมไม่ต่ํากว่าค่าย 3
3. คะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) 5 ภาคการศึกษา ไม่ต่ํากว่า 2.75
4. ผลคะแนนทดสอบ GAT, PAT1 และ PAT3 ไม่ต่ํากว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบในครั้งนั้นๆ
 

วิทยาเขตกําแพงแสน

      
คณะเกษตร

- สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
- สาขาวิชาเครื่องจักรกลและเมคคาทรอนิกส์เกษตร
- สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร
- สาขาวิชาสัตวศาสตร์


คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
      
- สาขาวิชาฟิสิกส์
- สาขาวิชาจุลชีววิทยา
- สาขาวิชาเคมี
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาคปกติ
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาคพิเศษ
- สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (ภาคพิเศษ)

           
คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
      
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกําลังกาย

เกณฑ์การตัดสิน

1. ผลคะแนนทดสอบ GAT, PAT1 และ PAT2
2. การสอบสัมภาษณ์        


ลิงค์ประกาศผล คลิกที่นี่


ขอบคุณข้อมูล 

มูลนิธิส่งเสริมโอลิกปิกวิชาการ และพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) และ admissionpremium